รู้จักกับสัญญายืมเงินส่วนบุคคล พร้อมวิธีร่างสัญญายืมเงินง่ายๆ ปีนี้

อย่าหลงเชื่อในสัญญาใจ ทำหนังสือสัญญายืมเงินส่วนบุคคลกันไว้ดีกว่า

การกู้ยืมเงิน ไม่ว่าจะเป็นการยืมเงินเพื่อน หรือขอสินเชื่อส่วนบุคคลจากธนาคาร นับว่าเป็นเรื่องธรรมดาปกติที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพราะความจำเป็นที่ต้องจับจ่ายใช้สอยไปกับสิ่งต่าง ๆ ในทุก ๆ วัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บางครั้งจะเกิดความขัดสน หมุนเงินไม่ทันในบางเวลา และยิ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังคงรุนแรงอย่างเช่นในทุกวันนี้ ยิ่งส่งผลให้ความต้องการใช้เงินด่วนของผู้คนเพิ่มสูงมากขึ้น เมื่อเราต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการกู้ยืมเงิน จะอยู่ในสถานะผู้กู้ หรือผู้ให้กู้ก็ตาม ความรู้เกี่ยวกับสัญญายืมเงินส่วนบุคคล เป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษา และทำความเข้าใจให้ดี ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของสัญญายืมเงินกัน ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น เราไปดูพร้อม ๆ กันเลย

 

มาทำความรู้จักกัน ว่าสินเชื่อส่วนบุคคลคืออะไร ? 

เมื่อเงินที่มีอยู่ ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย จึงไม่ใช้เรื่องแปลกที่หลาย ๆ คนจะเลือกแก้ไขปัญหาด้วยการกู้ยืมเงิน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกการยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันทางการเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับตัวเอง และในปัจจุบันปี 2567 นี้ ก็มีสถานบันการเงินหลายแห่งที่ให้บริการ แต่คุณรู้หรือไม่ ว่าสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้ยินกันบ่อย ๆ นั้น คืออะไร ?

สินเชื่อส่วนบุคคล คือ การกู้เงินจากสถาบันทางการเงินรูปแบบหนึ่งโดยที่ไม่มีการจำกัดวัตถุประสงค์ เมื่อสินเชื่อผ่านการอนุมัติ และได้ดำเนินการทำสัญญายืมเงินเรียบร้อยแล้ว ทางธนาคารก็จะโอนเงินเข้าบัญชีให้ตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติ และเราก็จะต้องทำการชำระเงินคืนเป็นงวด ๆ ในอัตราดอกเบี้ยที่ระบุเอาไว้ในสัญญายืมเงินส่วนบุคคล หรือตามเงื่อนไขที่ทางธนาคารกำหนด โดยปกติแล้ว วงเงินสูงสุดจะไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ก็ซึ่งข้อดีของการกู้สินเชื่อ นอกจากจะทำให้มีเงินก้อนเพื่อนำไปหมุนเวียนใช้จ่ายแล้ว ยังช่วยให้สามารถบริหารจัดการวางแผนทางการเงินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

สัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมาย เรื่องสำคัญไม่ที่ควรมองข้าม

เมื่อการกู้ยืมเงินนั้น เกิดขึ้นระหว่างเพื่อน หรือคนรู้จัก หลายคนจึงเลือกที่จะให้ยืมเงินด้วยความเชื่อใจ และละเลยการทำสัญญายืมเงินลายลักษณ์อักษรไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ไม่ว่าเราจะอยู่ในฐานะของผู้ หรือผู้ให้กู้ก็ตาม เพราะเรื่องเงินเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียด จะใช้ความเชื่อใจอย่างเดียวไม่ได้ อีกอย่างใจเขาใจเรา ใครคิดอย่างไร เราไม่มีทางรู้ เพื่อป้องกันการถูกโกง และถูกเอารัดเอาเอาเปรียบ จึงควรทำหนังสือสัญญายืมเงินส่วนบุคคล ที่เป็นลายลักษณ์อักษรเอาไว้เป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินทุกครั้ง

ในกฎหมาย ได้ระบุเอาไว้ว่า “ถ้ามีการกู้ยืมเงินระหว่างกันเกิน 2,000 บาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือสัญญายืมเงินส่วนบุคคลที่มีการลงลายมือชื้อของผู้กู้เป็นสำคัญ ซึ่งถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น จะไม่สามารถทำการฟ้องร้องบังคับคดีกันได้” โดยเนื้อหาในสัญญายืมเงินที่ไม่ว่าจะอยู่ในแบบฟอร์มที่เป็นทางการ หรือจะเป็นการร่างสัญญายืมเงินขึ้นมาเอง จะต้องมีองค์ประหลัก ๆ ในสัญญา ดังนี้

องค์ประกอบสัญญายืมเงิน

  • วันที่ที่ทำสัญญา
  • ชื่อของผู้กู้ และผู้ให้กู้
  • จำนวนเงินที่กู้ (ทั้งที่เป็นตัวเลข และตัวอักษร)
  • อัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะต้องไม่เกิน 15% ต่อปี หรือ 1.25% ต่อเดือน
  • กำหนดระยะเวลาในการชำระเงินคืน
  • ลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ของผู้กู้ แต่ถ้าหากเป็นการพิมพ์ลายนิ้วมือ จะต้องมีพยานรับรอง 2 คน

 

กู้ออนไลน์ ใช้แชท และสลิป เป็นหลักฐานฟ้องร้องแทนได้

ในปี 2024 นี้ ผู้คนส่วนใหญ่หันมากู้ยืมออนไลน์กันมากขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่า แต่ก็ทำให้หลายคนเกิดสงสัยขึ้นมาว่าการกู้เงินออนไลน์นี้จะมีวิธีทำสัญญายืมเงินส่วนบุคคลอย่างไร?

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนในปัจจุบัน จึงทำให้สถาบันการเงินทั้งใน และนอกระบบ หันมาให้บริการกู้เงินทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งในเรื่องของการทำสัญญายืมเงินส่วนบุคคล ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละที่ว่ามีกำหนดไว้ว่าอย่างไร อาจจะนัดทำสัญญาที่สาขา หรือจะเป็นสัญญาแบบออนไลน์ก็ได้ แต่สิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลย ก็คือ ไม่ว่าจะทำสัญญาเรื่องใด จะต้องอ่านเนื้อหาในสัญญาให้ละเอียด ครบถ้วน ก่อนที่จะทำการเซ็นชื่อเสมอ

ด้วยความนิยมในการกู้เงินออนไลน์ ทางกฎหมาย จึงได้อนุญาตให้ใช้ข้อความในแชท และใบเสร็จในการโอนเงิน (สลิป) มาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องดำเนินคดีแทนหนังสือสัญญากู้ยืมเงินได้

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน กฎหมายได้มีการอนุญาตให้สามารถนำข้อความในแชท และสลิปในการโอนเงิน มาเป็นหลักฐานแทนหนังสือสัญญายืมเงินได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เราทุกคนก็ควรที่จะศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวสัญญายืมเงินส่วนบุคคลเอาไว้ และควรอ่านเงื่อนไขต่าง ๆ ในใบสัญญายืมเงินให้ละเอียดรอบคอบ เพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ และรักษาสิทธิประโยชน์ให้กับตัวเราเอง